FROM COVID-19 to CRISIS-20

  • Shares :

บทความ ณ วันที่ 18 มีนาคม 

 

 

ไม่มีใครคาดคิดว่าสาเหตุของการปรับฐานของหุ้นทั่วโลกครั้งนี้จะมาจากโรคระบาด และถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครกล้ายืนยันว่าเราอยู่ในวิกฤตเศรษฐกิจแล้วหรือยัง แต่ถ้าหันมาดูผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้น ก็พูดได้ว่า หลายๆตลาดเข้าสู่ Bear Market หรือการติดลบมากกว่า 20% โดยสมบูรณ์แบบ และวันนี้ น่าจะมีเพียงตลาดหุ้น A-Share หรือจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้นที่ยังไม่เข้าสู่ Bear Market ทั้งๆที่ประเทศจีนเป็นจุดเริ่มต้นของโรคระบาดครั้งนี้

 

ผลตอบแทนนับจากต้นปี จนถึงวันที่ 17/03/2020

 

  • MSCI World Index : -27.80%

  • S&P500 : -26.14%

  • STOXX 600 : -31.55%

  • Nikkei : -28.46%

  • CSI300 : -9.82%

  • SET Index : -33.05%

 

แล้วโรคระบาดกระทบยังไงกับเศรษฐกิจ ?

 

ถึงแม้จะเป็นโรคระบาดที่อัตราการเสียชีวิตต่ำ แต่ก็เป็นโรคระบาดใหม่ที่ยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน เมื่อเกิดการแพร่กระจาย สิ่งที่ทำได้คือการควบคุมให้การแพร่กระจายให้น้อยที่สุด นั่นก็คือ การหยุดการเคลื่อนย้ายของคน” ซึ่งคนก็คือหน่วยเศรษฐกิจที่เล็กที่สุดในระบบเศรษฐกิจ เมื่อหยุดเคลื่อนย้ายคนก็เท่ากับเศรษฐกิจหยุดชะงักไปโดยปริยาย คนไม่ไปร้านอาหาร ไม่ไปห้าง ไม่ไปท่องเที่ยว ก็เท่ากับไม่มีการใช้จ่ายเกิดขึ้น

 

ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อไปก็คือผู้ประกอบการร้านค้า เมื่อค้าขายไม่ได้ แต่หนี้ยังต้องจ่าย ก็จำเป็นอาจจะต้องขุดสมบัติเก่ามาขายบ้าง ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือทองที่มีอยู่ ถ้าหยุดชะงักชั่วคราว ก็ไม่เท่าไร แต่ถ้าหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักเป็นเวลานาน สิ่งที่ตามมาก็คือความไม่มั่นใจในภาคส่วนต่างๆ ก็จะทำให้ไม่เกิดการลงทุนใหม่ๆ หรือกรณีเลวร้ายอาจลุกลามไปถึงการขาดสภาพคล่องอย่างหนักของบางกิจการ จนเกิดการ default หนี้ อันนี้จะเป็นปัญหาใหญ่

 

เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรจะควบคุมได้ เมื่อไรสถาณการณ์จะกลับมาปกติ แต่สิ่งที่วันนี้เกิดขึ้นแล้วก็คือ ตลาดหุ้นซึ่งเป็นตัวสะท้อนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจได้ปรับฐานอย่างหนัก และนักลงทุนหลายๆท่านต่างได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า ตลาดจะลงลึกไปกว่านี้อีกนานแค่ไหน จะใช้เวลานานเท่าไรกว่าจะฟื้นไม่มีใครรู้  

 

ถ้าเราลองเทียบกับเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ตลาดหุ้น (S&P500) จะปรับลงโดยเฉลี่ยประมาณ -42% โดยจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 22 เดือนในการปรับลง แต่รอบนี้ตลาดหุ้นใช้เวลาไม่ถึง 1 เดือนในการปรับลง และปรับลงมาราว 30% เรียกได้ว่าเร็วแ ละแรงแบบไม่ทันตั้งตัวเลยทีเดียว ถ้าวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวมของการปรับฐานรอบนี้ ยังห่างไกลจากวิกฤตการเงินปี 2007 ที่ผ่านมาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้นตอของปัญหา

 

ในปี 2007 ปัญหาใหญ่เกิดจากการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงิน เมื่อขาดสภาพคล่อง การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอ เงินเฟ้อที่สูงมาก เพราะต้นทุนสูงทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับธนาคารกลางต่างๆ ไม่ได้เตรียมการรับมือ เมื่อเกิดปัญหาจึงลุกลามใหญ่โต จนกลายเป็นวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ของโลก

 

หากดูจากปัญหารอบนี้  น่าจะมาจากภาคธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องจากเศรษฐกิจหยุดชะงักกระทันหัน แต่เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ จากต้นทุนไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน หรืออัตราดอกเบี้ย ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และที่สำคัญการตื่นตัวและเตรียมความช่วยเหลือของธนาคารกลาง ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อรับมือกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID-19 มีออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง

 

ตารางด้านล่างเป็นความแตกต่างของวิกฤตปี 2007 กับสถาณการณ์ปัจจุบัน

.

 

ถึงแม้เราจะยังประเมินถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ได้  เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ถึงแม้เราจะยังไม่รู้ว่า -30% เป็นจุดต่ำสุดหรือยัง แต่สิ่งที่นักลงทุนทำได้ตอนนี้คือ

 

  1. “ตั้งสติอย่า Panic” ดูภาระทางการเงินว่าเงินที่ลงทุนในพอร์ตจำเป็นต้องใช้ในอนาคตอันใกล้หรือไม่ ในวิกฤต 2007ตลาดใช้เวลา 4 ปีในการกลับไปจุดสุงสุดเดิม

  2. คิดว่าอะไรจะเป็นตัว Trigger ที่จะทำให้คนกล้าที่จะกลับมาลงทุนอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบยาต้าน จำนวนผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มลดลง หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ

  3. คิดต่อว่า ประเทศไหนจะฟื้นตัวได้ไวจากผลกระทบ COVID ทั้งนี้ก็น่าจะเป็นประเทศที่รับมือกับโรคระบาดได้เร็ว และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน

  4. คิดต่อว่า ธุรกิจไหนจะได้ประโยชน์จากผลกระทบ COVID ในภาวะเศรษฐกิจชะงัก การเดินทางลำบาก ธุรกิจพวก online จะได้อานิสงค์หรือไม่ หรืออาจจะเป็นสินค้าจำเป็นที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นไปได้

  5. หุ้นแบบไหนจะอยู่รอดปลอดภัยในสถาณการณ์แบบนี้ ซึ่งก็น่าจะเป็นหุ้นที่มี free cash flow ที่ดี เพราะอย่างน้อยบริษัทก็ยังมีเงิน ถ้าเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว บริษัทพวกนี้ก็น่าจะพร้อมลงทุน หรืออาจจะสามารถซื้อกิจการอื่นเพิ่อเสริมความแข็งแกร่งของตัวเองก็เป็นไปได้

  6. ดู Asset Allocation ในพอร์ตของตัวเอง Re-Allocation ใหม่ Switch ของไม่ดีออกไป เอาไปไว้ในของที่ดี หรือของที่มีโอกาสฟื้นได้ไวกว่า

 

บทเรียนจากวิกฤตรอบก่อน

 

  1. การ cut loss ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การ cut loss แล้วไม่กลับมาลงทุนอีกจะเป็นเรื่องที่เสียหายหนักที่สุด

  2. เราไม่มีทางรู้จุดต่ำสุดได้ แต่เราสามารถเลือกของที่ดีเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนได้ ถ้าเรามั่นใจในคุณภาพของสิ่งที่เราลงทุน เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ราคาของสินทรัพย์จะสะท้อนคุณภาพของมันเอง

  3. การทำ Asset Allocation นั้นช่วยลดความเสี่ยงขาลงได้มากจริงๆ

  4. ทยอยลงทุนเพิ่มในตลาดที่มีอนาคต ในกองทุนที่มี Process การเลือกหุ้นที่ดี ช่วยให้ระยะเวลาในการ Recovery โดยรวมสั้นลงได้เสมอ

 

ทุกวิกฤตจะมีคนที่จนลง และคนที่รวยขึ้นเสมอ ขอให้ท่านเป็นคนที่รวยขึ้นจากวิกฤตรอบนี้ค่ะ


สนใจซื้อกองทุน

KFACHINA-A

กองทุนเปิดกรุงศรีไชน่าเอแชร์อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า

KFGBRAND-A

กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า

บทความน่าสนใจอื่นๆ