กองทุนจีน เยอะแค่ไหนก็ไม่กลัว

  • Shares :

บทความ ณ วันที่ 9 มีนาคม 2564

 

ปัจจุบัน ถ้าพูดถึงโอกาสการลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพเติบโตได้ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง คงต้องมีเหลือบมอง หรือ มี checklist ใน “ประเทศจีน” กันบ้างอย่างแน่นอน เพราะเราคงปฏิเสธได้ยากว่า “ประเทศจีน” มีปัจจัยสนับสนุนมากมายที่เอื้อต่อการเติบโต  ไม่ว่าจะเป็น

 

  • การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางภายในประเทศ ภายใต้ประชากรมหาศาล

ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ปีละกว่า 6% ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วเติบโตได้เพียง 0.5% เท่านั้น ซึ่งทุกท่านรู้หรือไม่ว่านอกจากนี้ จีนได้ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งหมด ข้ามเส้นแบ่งความยากจนมาได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นั่นหมายความว่ารายได้ของประชากรจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประชากรมีอำนาจซื้อมากขึ้น ความต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้า และบริการจึงเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  

 

 

  • การพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมรองรับโลกอนาคต

 

 

ประเทศจีนมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติขึ้นเพื่อวางเป้าหมายของประเทศ ซึ่ง 1 ในนั้นคือเรื่องเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพราะจีนรู้ว่าโลกอนาคต ผู้ที่จะได้เปรียบคือ ผู้ที่ครอบครองนวัตกรรมต่างๆ เราจะเห็นได้ว่าจีนจริงจังในเรื่องนี้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • โครงข่าย 5G ที่ Huawei เป็นผู้นำตลาด

  • Smartphone และ Appliances ต่างๆที่โด่งดังอย่าง Xiaomi

  • เจ้าของ Application ยอดฮิต และค่าย Game ยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent

  • ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจ Healthcare หรือ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จีนก็ได้เข้ามาลุยอย่างเต็มสูบ ซึ่งถ้าดูตัวเลขการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา และ การขึ้นทะเบียนยาใหม่ของจีน จะพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ

 

 

  • จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกแต่มีสัดส่วนใน index น้อยมาก

 

 

โดยปัจจุบันหุ้นจีนที่จดทะเบียนในแผ่นดินใหญ่ (China A-Shares) มีน้ำหนักใน MSCI AC World Index เพียง 0.5% ในขณะที่จีนมีสัดส่วนใน GDP โลกสูงถึงประมาณ 18%

จุดนี้เองที่ทำให้ในอนาคต ยังไงจีนก็ต้องถูกเพิ่มน้ำหนักลงไป และเหล่านักลงทุนสถาบันทั่วโลกที่มี index นั้นเป็น benchmark ก็จำเป็นที่จะต้องมี exposure การลงทุนในจีนมากขึ้นนั่นเอง

 

น่าสนใจขนาดนี้ อยากลงทุนแล้วละซี๊ .................

แต่โอ้โห กองทุนจีนมีเยอะมาก แล้วเราจะเลือกยังไง เริ่มจากตรงไหนดี . . . . . . . .

มาครับ เดี๋ยวฝ่ายพัฒนาธุรกิจกองทุนรวม โนมูระฯ จะแอบกระซิบ trick ให้แบบเปิดเผย ?!?

 

STEP 1

อยากให้ตั้งต้นที่จักรวาลของตลาดหุ้นจีนกันก่อน ซึ่งหลักๆแล้วอยากให้โฟกัสที่ 3 ตัวนี้ คือ

  • A-SHARES คือ บริษัทจีนที่จดทะเบียนในจีน

  • H-SHARES คือ บริษัทจีนที่จดทะเบียนในฮ่องกง

  • ADRs คือ บริษัทจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา 

 

STEP 2

เข้าใจกลยุทธ์การบริหารกองทุน โดยสามารถแบ่งหลักๆได้ 2 ประเภท คือ  

  • กองแบบ PASSIVE คือ กองทุนที่มีดัชนี (index) เป็นตัวอ้างอิง (benchmark) และบริหารให้ได้ผลตอบแทนล้อไป หรือใกล้เคียงกับ benchmark นั้นๆ

  • กองแบบ ACTIVE คือ กองทุนที่มีดัชนี (index) เป็นตัวอ้างอิง (benchmark) และตั้งเป้าบริหารกองของตนเองให้ได้ผลตอบแทนชนะ benchmark นั้นๆ

 

ทีนี้เราก็สามารถมาเลือกช็อปกันได้แล้ว ว่ากองไหนจะเหมาะกับเรามากที่สุด

เริ่มกันที่ กอง PASSIVE ก่อนนะครับ

 

PASSIVE: A-SHARES

หลักๆจะมี ดัชนีอ้างอิง 2 ตัว คือ

  • CHINA A50 และ

  • CSI300

ต่างกันที่ตัวแรกจะมีหุ้นใหญ่เน้นๆเพียง 50 ตัวเท่านั้น ส่วนตัวหลังจะกระจายมากกว่า มีหุ้นในดัชนี 300 ตัว

 

 

PASSIVE: H-SHARES

กองประเภทนี้ค่อนข้างง่าย เพราะมีดัชนีอ้างอิงตัวเดียวกันหมด คือ HSCEI โดยอาจพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียม และการป้องกันด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองเป็นหลักในการตัดสินใจ

 

 

PASSIVE: ALL CHINA

กอง PASSIVE ที่ลงในหุ้นจีนหลายตลาดนั้นจะพิเศษเล็กน้อย เพราะจะเป็นกองที่เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเป็นหลัก เช่น เทคโนโลยี หรือ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าฟุ่มเฟือย เป็นต้น

 

 

ACTIVE: A-SHARES

กองที่บริหารแบบ Active จะแตกต่างกันที่ Master Fund ที่กอง feed เงินไปลงทุนครับ

หลักๆที่พบตอนนี้จะมีอยู่ 3 Master Fund คือ

                UBS(Lux) China A Opportunity

เน้นลงทุนในบริษัทฯที่เติบโตโดดเด่น เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยล้อไปกับการขยายตัวของชนชั้นกลาง การขยายตัวของเมือง และการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก

                AGI Allianz China A Shares

เน้นลงทุนในบริษัทฯที่เติบโตโดดเด่น และกระจายการลงทุนค่อนข้างล้อไปกับดัชนีอ้างอิง ซึ่งน่าจะได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินนักลงทุนต่างชาติ หลักถูกเพิ่มน้ำหนักในดัชนี MSCI

                United China A-Shares Innovation Fund

เน้นลงทุนในบริษัทฯที่เติบโตโดดเด่น ซึ่งมีการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจ เพื่อเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของตนเอง

 

 

ACTIVE: ALL-CHINA

ในตลาดที่ออกเสนอขายกัน จะมีอยู่ 3 Master Fund หลักๆ คือ

                UBS (Lux) China Opportunity

                UBS (Lux) All China

เน้นลงทุนในหุ้นจีนที่เติบโตโดดเด่น เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้ทุกตลาด แต่ตัว All China จะเปิดนโยบายให้ลงทุนได้ยืดหยุ่นมากกว่า China Opportunity          

                JPMorgan China Fund

เป็นอีกกองหนึ่งที่เลือกลงทุนในหุ้นจีนที่มีศักยภาพสูงได้ทุกตลาด และมีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา

ซึ่งจริงๆแล้วยังมี Master Fund ที่ลงทุนในจีนแบบ ALL CHINA อีกมาก โดยสามารถเข้าไปเลือกค้นหา เปรียบเทียบ ได้ที่ Krungsri Capital iFUND ของเรานะครับ หรือใน Modelportfolio บน Krungsri Capital iWEALTH ของเราก็มีการกระจายไปลงทุนในกองทุนจีนให้แล้วเช่นเดียวกัน

 

 

เป็นยังไงบ้างครับทุกท่าน วันนี้น่าจะได้ Trick การเลือกกองทุนหุ้นจีนเข้าพอร์ตกันไปแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วก็คือ ให้ดูก่อนว่าเราต้องการ PASSIVE หรือ ACTIVE management และอยากให้กองของเรามี exposure ในหุ้นจีนตลาดใดนั่นเอง

หากท่านใดอยากฟังรายละเอียดเพิ่มเติม กดที่ Banner ด้านล่างนี้ เพื่อรับชมรายการ Krungsri Capital FUND TALK ได้เลย  

 

 


สนใจซื้อแผนการลงทุน

EASYGOING
ลงทุนอุ่นใจ ไลฟ์สไตล์ไร้กังวล

NEWBIE
ลงทุนสบาย กระจายความเสี่ยง

JOGGING
ลงทุนรู้รอบ ผลตอบแทนเติบโต

OPPORTUNITY
ลงทุนก้าวหน้า คว้าโอกาสจากทั่วโลก

YIELD
ลงทุนเพิ่มทรัพย์ รายรับต่อเนื่อง

สนใจซื้อกองทุน

MCHINAGA

กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไชน่า อิควิตี้ ชนิดผู้ลงทุนทั่วไปที่ไม่รับเงินปันผล

UCI

กองทุนเปิด ยูไนเต็ด ไชน่า เอ แชร์ อินโนเวชั่น ฟันด์

บทความน่าสนใจอื่นๆ