#ของมันต้องมี กองทุนที่ผู้มีเงินได้ต้องมี

  • Shares :

 

 

จากวลี “ของมันต้องมี” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง เสื้อผ้า รองเท้า หรือกระเป๋า เหมือนที่ใครๆ ฮิต ติด Hashtag กันนะคะ แต่หมายถึง กองทุนที่ผู้มีเงินได้ต้องมี ย้ำว่าต้องมี!! นะคะ ไม่ใช่ควรมี นั่นก็คือ กองทุนรวม LTF ค่ะ ได้ประโยชน์คูณสอง ทั้งประหยัดภาษี แถมได้ออมเงินด้วย #ของมันต้องมีจริงๆค่ะ

 

 

 

ใกล้สิ้นปีทีไร คำถามยอดฮิตที่มักได้จากคนรู้จักคือ ปีนี้ซื้อกอง LTF อะไรดี??

 

 

จากข้อมูลของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ณ สิ้นปี 2560 เรามีกองทุนรวม LTF 83 กอง จาก 20 บลจ. แล้วจะเลือกกองไหน ของเจ้าไหน แค่เห็นจำนวนกองทุน LTF ที่มีขายกันก็ปวดตับแล้วค่ะ สรุปเลยไม่เลือกดีกว่า เดินไปซื้อที่ธนาคารใกล้ๆ สะดวกดี ผ่านไป 5 ปี ดูผลตอบแทนอีกที ปวดตับกว่าเดิม

 

 

 

งั้นเรามาดูวิธีการเลือกกอง LTF กันค่ะ

 

 

1. ข้อแรกง่ายมากค่ะ ดูจาก ผลการดำเนินงานในอดีต เวลาดูให้ดูเทียบกันหลายๆ ช่วงเวลานะคะ ดูทั้ง 1 ปี  3 ปี 5 ปี ถ้ากองทุนมีผลการดำเนินงานอยู่ระหว่าง 1 - 5 ก็จัดว่าแจ่มค่ะ ไม่ใช่ว่าผลการดำเนินงาน 1 ปีดีมาก พอปีที่ 3 หลุดไปท้ายตาราง อันนี้ก็ไม่ไหวค่ะ อ้าว! แล้วจะไปดูผลการดำเนินงานย้อนหลังได้จากที่ไหน มีตั้ง 20 บลจ. 83 กองทุน คำตอบคือ ไปที่ NOMURA iFUND ได้เลยค่ะ มีทุกเจ้า มีทุกกอง เปรียบเทียบกันให้เพลินไปเลยค่ะ

 

 

2. นโยบายการจ่ายปันผล อันนี้แล้วแต่ความชอบเลยค่ะ ว่าอยากได้ผลตอบแทนระหว่างทางมาเชยชมรึเปล่า แต่อย่าลืมว่าปันผลที่ได้รับต้องเสียภาษี 10% นะคะ

 

 

3. Max drawdown เมื่อได้กองทุนในใจสัก 2 - 3 กอง ก็อย่าลืมมาเทียบ Max drawdown กันด้วยนะคะ อันนี้เอาไปดูว่าในอดีตถ้าเราซื้อดอย กองทุนจะให้ผลขาดทุนสุดเท่าไร เอาไว้เตือนใจค่ะ ว่าการลงทุนมีความเสี่ยง

 

 

4. ค่าธรรมเนียม อันนี้ดูดีๆ นะคะ บางกองทุนมีค่าธรรมเนียมจากการขายหน่วยลงทุน (Front-end-fee) ค่าใช้จ่ายนี้จะถูกบวกเข้าไปกับมูลค่าหน่วยลงทุนเมื่อซื้อหน่วยลงทุน ทำให้เราเอาเงินที่ซื้อกองทุน LTF ไปหักลดหย่อนได้ไม่เต็มจำนวนค่ะ ถ้าต้องการให้หักได้เต็มจำนวน ให้จ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มไปด้วยค่ะ เช่น ถ้ากองทุนมี Front end 1% หากต้องการลดหย่อน 100,000 บาท ให้จ่าย 101,000 บาทค่ะ ส่วนค่าธรรมเนียมอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็เก็บในอัตราที่สูสีกัน ซึ่งก็สะท้อนอยู่ในผลการดำเนินงานแล้วค่ะ

 

 

 

สำหรับท่านที่ไม่อยากเทียบเอง NOMURA iFUND ก็มีเปรียบเทียบให้ดูนะคะ

ท่านใดยังไม่มี บัญชี iFUND สามารถ click สมัครเปิดบัญชีได้ ที่นี่

ขอเชิญเข้าไปเลือกช้อป ของมันต้องมี กันได้เลยค่ะ

 


การคำนวณซื้อ LTF

รายได้รวมทั้งปีของคุณ

บาท

คุณสามารถซื้อ LTF ได้สูงสุด

บาท

* ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้
แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

การคำนวณซื้อ RMF

รายได้รวมทั้งปีของคุณ

บาท

คุณสามารถซื้อ RMF ได้สูงสุด

บาท

* ซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ แต่หลังรวมรายได้รวมทั้งปี และเงินสะสมจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. ต้องไม่เกิน 500,000 บาท รวมถึงเมื่อรวมรายได้รวมทั้งปี, เงินสะสมจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. และประกันบำนาญ ต้องน้อยกว่า 500,000 บาท เสมอ

สนใจซื้อกองทุน

CG-LTF

กองทุนเปิด บรรษัทภิบาล หุ้นระยะยาว

บทความน่าสนใจอื่นๆ