How to think about the "Economic Recovery"

  • Shares :

บทความ ณ วันที่ 13 เมษายน 2563

 

 

 

 

คำพูดที่ว่า การมีสุขภาพที่ดีสำคัญกว่าการมีเงินมากมาย เป็นเรื่องจริงเสมอ” เห็นได้ชัดจากสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อมีวิกฤตสุขภาพเกิดขึ้นทั่วโลก กิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่างต้องหยุดชะงักไปโดยปริยาย และมีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจจะลงลึกกว่าวิกฤตทางการเงินในปี 2008 (ที่เรียกว่าวิกฤตสินเชื่อซับไพร์ม หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) โดยโนมูระคาดว่า GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 2 ปี 2020 จะหดตัวถึง 42% จากที่เคยหดตัวเพียง 8.4% ในไตรมาส 4 ของปี 2008 (ปีที่เกิดวิกฤตการเงิน) แต่การหดตัวของเศรษฐกิจรอบนี้จะลึก และยาวนาน หรือจะลึก แต่ใช้เวลาไม่นานในการฟื้นฟู ยังยากที่จะตอบ

              

 

เมื่อไม่มีใครรู้อนาคตว่าทางออกจะเป็นทางไหน สิ่งที่เราเราพอจะทำได้ คือ การตั้งสมมติฐาน และประเมินสถานการณ์ เทียบเคียงกับวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในอดีต เราพบว่าจากไตรมาส 4 ปี 2007 จนถึง ไตรมาส 4 ปี 2009 หรือเป็นเวลา 8 ไตรมาสนั้น GDP ของสหรัฐ หดตัวลงไปประมาณ 62% แต่หากขยายเวลาให้ยาวขึ้นเป็น 16 ไตรมาส (จากไตรมาส 4 ปี 2007 ถึงไตรมาส 4 ปี 2011) GDP ของสหรัฐหดตัวไปถึง 168%

 

 

 

 

" คำถามมีอยู่ว่าผลกระทบจากวิกฤตสุขภาพรอบนี้จะมีการหดตัวและฟื้นตัวอย่างไร ? "

 

ต้องขึ้นอยู่กับว่า ความไวในการควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงผู้กำหนดนโยบายว่าจะมีมาตราการ ทั้งการเงิน และการคลัง ออกมาช่วยเหลือครอบคลุมทุกภาคส่วนหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น แรงงาน หรือ ผู้ประกอบการ เพื่อไม่ให้ทั้งหมดบอบช้ำจากการที่เศรษฐกิจต้องหยุดชะงักมากจนเกินไป และเมื่อถึงเวลาที่ควบคุมโรคระบาดได้สำเร็จ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะได้พร้อมกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

 

  • หรือใน สถาณการณ์ที่ดี (Good Case Scenario) ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อาจทำให้เกิดการค้นพบ วัคซีน หรือยาต้านไวรัสได้ในเวลาอันใกล้ วิกฤตสุขภาพครั้งนี้ก็จะสิ้นสุดลง และมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 3

 

  • แต่ใน สถาณการณ์ที่เลวร้าย (Bad Case Scenario) การ Lockdown ดำเนินต่อไปยาวนาน การดำเนินโยบายการเงิน และการคลังล้มเหลว เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว การว่างงานสูงขึ้น ก็อาจจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจกินเวลานาน และยืดเยื้อออกไปได้อีก

 

 

 

 

  • ใน กรณีที่ดี (Good Case Scenario) ทางโนมูระคาดว่า จากไตรมาส 4 ปี 2019 ถึง ไตรมาส 4 ปี 2021 หรือเป็นเวลา 8 ไตรมาส GDP ของสหรัฐจะหดตัวเพียง 39% และหดตัว 46% ใน 16 ไตรมาส (จากไตรมาส 4 ปี 2019 จนถึง ไตรมาส 4 ปี 2023) ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลกระทบในระยะกลาง - ยาวนั้น มีขนาดเพียงแค่ 1 ใน 3 ของวิกฤตการเงินปี 2008 เท่านั้น

 

  • แต่ในทางตรงกันข้าม หากเป็น กรณีที่เลวร้าย (Bad Case Scenario) จากไตรมาส 4 ปี 2019 ถึง ไตรมาส 4 ปี 2021 หรือเป็นเวลา 8 ไตรมาส GDP ของสหรัฐจะหดตัวลง 103% และหดตัวลงมากถึง 418% ใน 16 ไตรมาส (จากไตรมาส 4 ปี 2019 จนถึง ไตรมาส 4 ปี 2023) จะเห็นได้ว่าผลกระทบในกรณีเลวร้ายนั้นใหญ่ เป็น 2 เท่า ของวิกฤตการเงินปี 2008 เลยทีเดียว

 

 

 

 

ในวิกฤตเศรษฐกิจทุกครั้ง สิ่งที่จะมีผลกับราคาของหุ้น คือทิศทางการเติบโตของกำไรในระยะยาวมากกว่าผลกระทบที่จะเกิดกับ GDP ในระยะสั้นเพียง 1-2 ไตรมาส และวิกฤตสุขภาพครั้งนี้ เป็นความท้าทายอย่างยิ่งกับนักลงทุนเพราะผลกระทบในระยะยาวนั้นเป็นสิ่งที่ยังคาดเดาได้ยาก และต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่ดีนั้น ถึงแม้ GDP จะลดลงลึกมากในไตรมาส 2 ปี 2020 แต่ภาพการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จะส่งผลการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ณ ราคาปัจจุบันเป็นทางเลือกที่ดี  แต่หากเป็นกรณีที่เลวร้าย ราคาหุ้น ณ ปัจจุบันอาจจะยังไม่สะท้อนความเลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจก็เป็นได้

 

#stayhome 

 

#ใส่หน้ากากเข้าหากัน

 

#อยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ


บทความน่าสนใจอื่นๆ