เมื่อกองทุนตราสารหนี้เพื่อสภาพคล่อง ไม่มีสภาพคล่อง

  • Shares :

บทความ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2563

 

 

 

 

เรียกได้ COVID-19 มีผลกระทบไปทั่วทุกวงการ โดยเฉพาะในตลาดการเงิน จากความกลัวที่ไม่รู้ว่าโรคระบาดจะจบลงเมื่อไร เศรษฐกิจจะถูกแช่แข็งไปอีกนานแค่ไหน 

 

 

เมื่อนักลงทุนประเมินสถาณการณ์ไม่ได้ สิ่งนักลงทุนบางส่วน (ใหญ่ๆ) ทำ คือการขายสินทรัพย์ทุกอย่างออกไปก่อน และถือเงินสดแทน สินทรัพย์ทั้งหมดที่ว่านี้รวมไปถึง หุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ ทั้งระยาว และระยะสั้น จนทำให้ราคาตราสารต่างๆปรับตัวลดลงกันทั่วหน้า ไม่เว้นแม่แต่ กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ที่ลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีระยะสั้น เมื่อมีคนขายเยอะ ผู้จัดการกองทุนก็ต้องขายตราสารหนี้ในพอร์ตเพื่อนำเงินมาคืนผู้ถือหน่วย ถ้าการขายเกิดขึ้นในภาวะปกติก็ไม่น่ากังวล แต่การขายรอบนี้เกิดในภาวะที่ ทุกคนแย่งกันขาย ขายกันจนไม่สนใจว่าราคาตราสารตอนนี้ควรขายหรือไม่ เหมือนเป็นการซ้ำให้ราคาตราสารหนี้ยิ่งปรับลดลง ทั้งๆที่ตราสารหนี้เหล่านั้นไม่ได้มีปัญหาเรื่องคุณภาพสินทรัพย์เลย ภาวะความกลัวแบบนี้ส่งผลให้มีเงินไหลออกจากกองทุนรวมตราสารหนี้จำนวนมาก ซึ่งบางกองมีเงินลงทุนไหลออกมากกว่า 50% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

 

 

แรงขายที่เกิดขึ้นทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วนไปกันหมด ร้อนไปจนถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องออกมาตรการมาให้ความช่วยเหลือ โดยออกกฎให้ ธนาคารพาณิชย์สามารถรับซื้อกองทุนรวม และนำกองทุนรวมไปค้ำประกันเพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้  (ที่เรียกกันว่าการทำ REPO หรือ Repurchase Agreement) ภายใต้เงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ** 

 

 

แต่สินทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ตลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้บางกอง ไม่อยู่ภายใต้เงือนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เช่น ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้ต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนก็ยิ่งแตกตื่นกันไปใหญ่ ว่ากองทุนที่ตัวเองถือจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ เหมือนเป็นการยิ่งซ้ำเติมให้มีเงินไหลออกจากกองทุนที่ไม่เข้าเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เมื่อมีผู้ลงทุนมาไถ่ถอน ผู้จัดการกองทุนจึงจำเป็นต้องพยายามขายตราสารหนี้ในพอร์ตออก ซึ่งราคาตราสารหนี้บางตัวไม่อยู่ในภาวะปกติ แต่ผู้จัดการกองทุนต้องยอมตัดใจขาย

 

 

"ตราสารหนี้บางตัวคุณภาพดี แต่สภาพคล่องไม่ได้สูง" เมื่อต้องรีบขาย ก็เลือกราคาได้ไม่ดีนัก ส่งผลให้ราคากองทุนติดลบ พอราคาติดลบ คนก็กลัว พอกลัวก็ยิ่งขาย วนซ้ำเป็นวงจรเดิมๆ ถ้าวงจรนี้ไม่สิ้นสุด ก็อาจจะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงกับกองทุนรวมนั้นได้

 

 

มาถึงตอนนนี้ สิ่งที่นักลงทุนทำได้ก็คือ ลองดูกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ตัวเองมีอยู่ ว่าเข้าข่ายการรับเป็นหลักประกันกับธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ถ้าไม่ก็อาจจะต้องย้ายไปกองทุนรวมตราสารหนี้ภาครัฐ หรือตราสารหนี้ในประเทศระยะสั้น ที่อยู่ในเกณฑ์การรับเป็นหลักประกันของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็น่าจะสบายใจกว่า

 

 

** สินทรัพย์คุณภาพตามเกณฑ์ ธปท. ได้แก่ **
  • (1) เงินสด เงินฝากกระแสรายวัน และเงินฝากประจำ สกุลเงินบาท และสกุลเงินตราต่างประเทศ
  • (2) ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล
  • (3) พันธบัตร ธปท.
  • (4) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารหนี้อื่นใดที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ ธปท. กำหนด ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย หรืออันดับเครดิตไม่ต่ากว่า A-
  • (5) ตราสารหนี้ภาคเอกชนสกุลเงินบาท อันดับเครดิตไม่ต่ำกว่า A-

บทความน่าสนใจอื่นๆ