FED อัด (สภาพคล่อง) ต่อ ไม่รอ COVID แล้วนะ

  • Shares :

บทความ ณ วันที่ 24 มีนาคม 2563

 

 

 

 

เมื่อคืน (23 มีนาคม 63) ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED มีมาตรการฉุกเฉิน ประกาศการ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบครั้งใหญ่ (Quantitative Easing : QE) แบบไม่เคยมีมาก่อน เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภค และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 จนอาจเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่อง และลุกลามไปไกลเกินกว่าจะแก้ไขได้ ดังนี้

 

  1. ขยายวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันซึ่งออกโดยหน่วยงานรัฐ (Agency Mortgage-Backed Securities : MBS) และครอบคลุมถึงสินเชื่อที่มีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าขายเป็นหลักประกัน (Commercial Mortgage-Backed Securities : CMBS)  แบบไม่จำกัดวงเงิน จากเดิมที่เคยประกาศไว้ว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรอย่างน้อย 500,000 ล้านดอลลาร์ และจะซื้อ MBS อย่างน้อย 200,000 ล้านดอลลาร์

  2. ออกมาตรการเพื่อ สนับสนุนความน่าเชื่อถือของตลาดหุ้นกู้คุณภาพ (Support Credit Market) ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง

    1. Primary Market Corporate Credit Facility (PMCCF) เพื่อเข้าซื้อหุ้นกู้ในระดับ Investment Grade โดยตรง สำหรับผู้ออกสินเชื่อใหม่

    2. Secondary Market Corporate Credit Facility (SMCCF) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในตลาดรอง โดยสามารถเข้าซื้อหุ้นกู้ภาคเอกชนในระดับ Investment Grade รายตัวในตลาดรอง หรือซื้อผ่านกองทุนรวมหุ้นกู้ในรูปแบบ ETF (Exchange Traded Fund)

  3. เพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้บริโภค และธุรกิจขนาดเล็กโดยสามารถนำสินทรัพย์มาค้ำประกัน เพื่อขอวงเงินไปใช้เป็นสภาพคล่องได้  (Term Asset-Backed Securities Loan Facility :TALF)   นอกจากนั้นยังขยายสินทรัพย์ที่นำมาใช้เป็นหลักประกันให้คลอบคลุมไปถึง ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper Funding Facility : CPFF) และ กองทุนรวมตลาดเงิน  (Money Market Mutual Fund Liquidity Facility :MMLF)

  4. เตรียมที่จะประกาศสินเชื่อเพื่อภาคธุรกิจโดยตรง (Main Street Business Lending Program) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

 

 

การทำ QE คือการที่ FED เอาเงินใส่เข้ามาในระบบ ผ่านหลายๆช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการที่

 

  • FED เข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรองคืน ซึ่งคนที่ถือพันธบัตรเป็นจำนวนมากๆนั้น ก็มักจะเป็นธนาคารพาณิชย์

  • เมื่อ FED ซื้อพันธบัตรคืนก็เท่ากับว่า ธนาคารพานิชย์มีเงินที่พร้อมจะปล่อยให้ภาคเอกชนกู้ยืมมากขึ้น

  • เมื่อ FED ยิ่งซื้อคืนพันธบัตรมากเท่าไร อัตราผลตอบแทน (Yield)  จะต่ำลง ก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนกู้เงินไปลงทุน เพราะต้นทุนทางการเงินต่ำ

  • แถม FED ยังขยายประเภทตราสารที่จะเข้าซื้อไปที่ MBS และ CMBS อีกด้วย

  • นอกจากนั้นรอบนี้ FED ยังจัดเตรียมสภาพคล่องและสร้างความน่าเชื่อถือในตลาดหุ้นกู้ โดยพร้อมจะซื้อหุ้นกู้ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง

  • ยังไม่จบแค่นั้น FED ยังเตรียมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจขนาดกลาง, ขนาดเล็ก และผู้บริโภคอีกด้วย

 

"เรียกได้ว่าเตรียมแก้ปัญหาสภาพคล่องแบบจัดเต็ม ตั้งโต๊ะรับซื้อแบบไม่จำกัด"

 

แต่การแก้ปัญหาด้วย QE รอบนี้อาจไม่ง่ายเหมือนครั้งที่ผ่านมา เพราะถึงแม้ FED จะมีสภาพคล่องแบบไม่จำกัด คลอบคลุมทุกภาคส่วน แต่หากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของโรคยังไม่คลี่คลาย ภาคธุรกิจก็อาจจะต้องคิดหนักถึงการลงทุนเพิ่มเหมือนกัน

 

"QE รอบนี้จึงอาจเป็นแค่การบรรเทาเรื่องการขาดสภาพคล่องเท่านั้น และเมื่อสถาณการณ์คลี่คลายแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อก็คือการสร้างความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ และผู้บริโภคให้กลับมา ถึงเวลานั้น เราน่าจะได้เห็นนโยบายการคลังแบบชุดใหญ่ตามมา"

 

#เราดูแลพอร์ทการลงทุนให้คุณ คุณอยู่บ้านเพื่อตัวคุณเอง


สนใจซื้อแผนการลงทุน

EASYGOING
ลงทุนอุ่นใจ ไลฟ์สไตล์ไร้กังวล

NEWBIE
ลงทุนสบาย กระจายความเสี่ยง

JOGGING
ลงทุนรู้รอบ ผลตอบแทนเติบโต

OPPORTUNITY
ลงทุนก้าวหน้า คว้าโอกาสจากทั่วโลก

YIELD
ลงทุนเพิ่มทรัพย์ รายรับต่อเนื่อง

บทความน่าสนใจอื่นๆ